ครม. ทุ่มอีก 300 ล้าน แก้ปัญหา โควิดเรือนจำ

ครม. ทุ่มอีก 300 ล้าน แก้ปัญหา โควิดเรือนจำ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติกรอบวงเงินมากกว่า 300 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหา โควิดเรือนจำ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งในที่ประชุมได้หารือถึงมาตรการป้องกันโควิดภายเรือนจำที่สถานการณ์ยังคงน่ากังวลอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในที่ประชุม ครม. อนุมัติกรอบวงเงิน 311,650,300 บาท

แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ จำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย 1.ค่าชุดตรวจไวรัสโควิด-19 แบบ RT PCR จำนวน 100,000 ชุดเป็นเงิน 80 ล้านบาท 2.ค่าก่อสร้างโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยวิกฤตในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 2 แห่งเป็นเงิน 51,967,200 บาท

3.ค่าก่อสร้างโรงพยาบาลสนามประจำเขตกลุ่มเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 10 แห่ง เป็นเงิน 92,680,000 บาท 4.ค่าก่อสร้างและปรับปรุงห้องกักกันโรคประจำเรือนจำและทัณฑสถานจำนวน 65 แห่ง เป็นเงิน 49,835,500 บาท และ 5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน เป็นเงิน 37,167,600 บาท

นายอนุชากล่าวว่า สำหรับการจัดหายาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ติดเชื้อนั้น ให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการตามแนวปฏิบัติโดยขอรับการสนับสนุนยาจากกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงและเร่งด่วน สืบเนื่องจากปัญหาการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถานหลายแห่ง จึงจำเป็นต้องก่อสร้างปรับปรุงสถานที่ พร้อมจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อแก้ไขและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้มีบัญชาเห็นชอบให้ ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยให้กรมราชทัณฑ์เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมด้วย

พ.ร.ก.ฉุกเฉินล่าสุด – วันที่ 25 พ.ค. 64 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ขยายการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินไปอีก 2 เดือน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564

เพราะว่ายังมีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต่อไป เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการการปฏิบัติงานและการดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพการลดอัตราการเสียชีวิตและปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรด้านสาธารณสุข และการดำเนินการอื่น ๆ รวมถึงการบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน เพื่อให้สถานการณ์ของประเทศกลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

สยบข่าวลือ CP แจง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ Sinovac ของรัฐบาล จ่อฟ้องคนทำเสียหาย

สยบข่าวลือ CP แจงผ่านแถลงการณ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ Sinovac ของรัฐบาล และชี้แจงรายละเอียดเรื่องการถือหุ้นของบริษัท  Sino Biopharmaceutical จ่อฟ้องดำเนินคดี หากยังมีคนปล่อยข่าวทำเสียหาย CP Sinovac – เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ออกแถลงการณ์ ชี้แจงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อวัคซีน Sinovac ของรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อม

ความว่า เนื่องจากปัจจุบันปรากฏข่าวสารสับสนเกี่ยวกับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ทางโลกออนไลน์ โดยระบุว่า

(1) ซีพีถือหุ้นซิโนแวค 15%

(2) ซีพีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาลนั้น

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้อมูลดังกล่าว ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้

การจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค เป็นแบบรัฐบาล ต่อรัฐบาล (G2G) เท่านั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับซีพี ทั้งทางตรง และทางอ้อม

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น บริษัทซิโนแวค 15% ตามที่เป็นข่าว โดย

ข้อเท็จจริง ผู้ลงทุน คือ Sino Biopharmaceutical ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์ของจีน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายย่อยในบริษัท Sino Biopharmaceutical นี้ เท่านั้น

ข้อเท็จจริง ผู้ขายหุ้น คือ Sinovac Life Sciences เป็นบริษัทลูกของบริษัท ซิโนแวค ต้องการระดมทุน เพื่อต้องการขยายกำลังการผลิตวัคซีนซิโนแวค

แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร